การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการ

เราอาจมองภาพนักบุญมัทธิวและสมาชิกหลายคนในชุมชนของท่านได้ว่าเป็นชาวยิวที่เติบโตขึ้นก่อนสงครามปี ค.ศ. 66-70 โดยมีศาลาธรรมเป็นเสมือนบ้านของจิตวิญญาณ ก่อนสมัยการทำลายพระวิหารเยรูซาเล็ม พวกเขาได้เคยพบกับกลุ่มผู้ประกาศเผยแพร่ศาสนา(Missionary)รุ่นแรกๆ ของ “กระบวนการพระเยซูคริสต์” (Jesus Movement) ซึ่งบางทีอาจมีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเหมือนกับประกาศกผู้เผยแพร่ศาสนาของชุมชนแหล่ง Q ซึ่งมีคำสอนเกี่ยวกับอวสานตกาลของโลกไว้ว่าพระเยซูเจ้าจะกลับมาอีกครั้งในฐานะของบุตรแห่งมนุษย์ (Son of Man) พวกเขาได้กลับใจมามีศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าผู้เป็นบุตรแห่งมนุษย์และเป็นผู้ที่ทำความหวังเกี่ยวกับการเสด็จมาของพระผู้ไถ่ (Messiah) ให้กลายเป็นจริง โดยไม่ได้คาดฝันเลยว่าความเชื่อนี้จะทำให้พวกเขาต้องแยกตัวเองออกจากศาสนาและวัฒนธรรมของตนซึ่งเป็นเหมือนบ้านเดิมในศาสนายูดาย ภาวะขัดแย้งและความตึงเครียดได้ก่อตัวขึ้น ผู้ที่มาเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าพบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มที่ถูกแยกโดดเดี่ยวจากคนอื่นในศาลาธรรม หลังจากเริ่มต้นการปฏิรูปศาสนายูดายที่เมืองยัมเนีย ไม่เพียงแต่กลุ่มของนักบุญมัทธิวเท่านั้น แต่ศาลาธรรมทั้งหมดก็เช่นกัน ได้พบว่าตนเองเข้ามาอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง และภาวะตึงเครียดก็ยิ่งเพิ่มหนักขึ้น ช่วงเวลาของการเขียนพระวรสารได้เป็นห้วงเหตุการณ์ที่นักบุญมัทธิวและชุมชนของท่านได้ถูกแบ่งแยกออกจากโครงสร้างการปฏิรูป(ศาสนายูดาย)ที่กำลังก่อตัวขึ้นเหล่านี้ พวกเขาได้เรียกกลุ่มของตนที่รวมตัวกันขึ้นมาว่า “พระศาสนจักร” (Church =Assembly12 มาจาก ejkklhsi”a ekklesia ซึ่งเป็นคำที่พบเฉพาะในพระวรสารนักบุญมัทธิวเท่านั้น [16:18; 18:17; 21 ในพระคัมภีร์ฉบับ NRSV [มาตรฐานแก้ไขใหม่[ ใช้คำว่า adelphoi หรือ adelfoi แปลว่า “พี่น้อง” [brothers and sisters]) ด้วยเหตุผลบางอย่างทำให้พวกเขามองว่าตนเองได้โน้มเอียงไปทางโลกของชนต่างศาสนามากกว่าศาสนายูดายรูปแบบใหม่ แต่ก็ยังคงยืนยันในอดีตความเป็นชาวยิวของตนต่อไป โดยถือว่าตนเองเป็นผู้สืบทอดที่ถูกต้องแท้จริง นักบุญมัทธิวและศาสนจักรของท่านได้เติบโตขึ้นในช่วงยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิวจึงมีประสบการณ์หลายสิ่งมากมายที่จะบอกเล่าให้กับชุมชนที่กำลังสัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ได้ทราบถึงวิธีการปรับตัวและนำไปใช้ในชุมชนของตน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องซื่อสัตย์ต่อพระคัมภีร์และธรรมประเพณีของตน

ความรู้ทั่วไป